ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรเกษตร
หลังการที่มีการก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในปัจจุบัน โดยที่ทางวิทยาลัยฯ ในขณะนั้นได้เห็นถึงความสำคัญของงานด้านช่างกลเกษตร จึงได้จัดทำหลักสูตรที่สามารถเข้ามาช่วยผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการงานด้านช่างกลเกษตร โดยสามารถนำเอาวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ลดการใช้แรงงาน และลดต้นทุนในการผลิตได้ ดังนั้นนึงได้ทำการเปิดการเรียนการสอน ดังนี้
- ในปี พ.ศ.2506 เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาช่างกลเกษตร หลักสูตร 3 ปี
- ในปี พ.ศ.2512 เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างกลเกษตร หลักสูตร 2 ปี
- ในปี พ.ศ.2547 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร หลักสูตร 4 ปี
- ในปี พ.ศ.2548 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร หลักสูตร 4 ปี (เทียบโอนรายวิชา)
- ในปี พ.ศ.2562 เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ หลักสูตร 4 ปี
จุดเด่นของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรเกษตร
สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรเกษตรเปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร (วศ.บ.) และ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ (วศ.บ.) ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรจะแบ่งเป็น 2 แผนการเรียน ได้แก่ 1) แผนการเรียนผู้ที่จบมาจากประกาศนียบัตรวิชาชีพและมัธยมปลาย 2) แผนการเรียนผู้ที่จบมาจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยเนื้อหาที่เรียนเป็นการประยุกต์ศาสตร์ด้านวิศวกรรมมาใช้กับเครื่องจักรกเกษตร โดนเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ การผลิต การซ่อมบำรุง การจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตหรือการแปรรูปทางการเกษตร การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการผลิต และการควบคุมอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
จบสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร และวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะแล้วไปทำงานอะไร
- ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และในรายวิชาเฉพาะทาง
- ทำงานภาครัฐ
- ทำงานภาคเอกชน